ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 และจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของภาคธุรกิจไทย เมื่อแนวคิด “ผู้ปล่อยมลพิษเป็นผู้จ่าย” กลายเป็นจริง ทำให้ต้นทุนสิ่งแวดล้อมกลายเป็นต้นทุนที่วัดได้จริงและบังคับให้องค์กรต้องแสดงความโปร่งใสเรื่องการปล่อยคาร์บอนมากขึ้น
พ.ร.บ. Climate Change คืออะไร และจะส่งผลต่อธุรกิจอย่างไร?
พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือที่เรียกกันว่า “พ.ร.บ.ลดโลกร้อน” เป็นกฎหมายที่จัดทำขึ้นเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2608 (ค.ศ. 2065) ตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ทุกองค์กรต้องรายงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีการจัดสรร Carbon Budget รายอุตสาหกรรม พร้อมมาตรการบังคับผ่านภาษีคาร์บอนและระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิต โดยมีสาระสำคัญ 3 ประเด็นหลัก คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
กลไกราคาคาร์บอน: เมื่อ “ผู้ปล่อยมลพิษต้องจ่าย”
หัวใจสำคัญของ พ.ร.บ. นี้คือการนำหลักการ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” (Polluter Pays Principle) มาใช้ผ่านระบบกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing Mechanism) ที่ประกอบด้วย
– ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ETS)
ระบบ ETS จะกำหนดเพดานจำกัดสูงสุดของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละภาคส่วน ช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก องค์กรที่ปล่อยก๊าซเกินเพดานจะต้องซื้อสิทธิเพิ่มเติม ขณะที่องค์กรที่ปล่อยต่ำกว่าเพดานสามารถขายสิทธิที่เหลือได้
– ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)
Carbon Tax จะกำหนดต้นทุนราคาชัดเจนสำหรับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงกลไกราคาคาร์บอนข้ามพรมแดนเพื่อป้องกันการรั่วไหลของคาร์บอนและรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดโลก
อุตสาหกรรมไหนต้องเตรียมตัวก่อน?
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ. นี้ คิดเป็นมูลค่า 6.5 ล้านล้านบาท หรือ 37% ของ GDP โดยการบังคับใช้จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ
- ระยะที่ 1 (ปี 2569): อุตสาหกรรมที่ปล่อย GHG สูงและอยู่ใน EU-CBAM ได้แก่ ภาคขนส่ง สาธารณูปโภค โลหะ และอโลหะ มูลค่า 1.71 ล้านล้านบาท
- ระยะที่ 2: ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยางและพลาสติก เคมีภัณฑ์ เหมืองถ่านหิน กระดาษและเยื่อกระดาษ มูลค่า 1.77 ล้านล้านบาท
- ระยะที่ 3: เกษตรและปศุสัตว์ อาหารและเครื่องดื่ม คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า มูลค่า 3.02 ล้านล้านบาท
ธุรกิจต้องเตรียมพร้อมอย่างไร?
การเตรียมความพร้อมรับมือ พ.ร.บ. Climate Change มีอะไรบ้าง? ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องยาก หากเริ่มต้นอย่างเป็นระบบ
- ประเมิน Carbon Footprint ขององค์กร – การตรวจวัด GHG จะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการดำเนินธุรกิจ เช่นเดียวกับการรายงานงบการเงิน
- วางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก – ลด GHG ในกระบวนการผลิตและการดำเนินกิจการจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
- เตรียมงบประมาณสำหรับ Carbon Tax หรือซื้อคาร์บอนเครดิต – วางแผนการเงินรองรับต้นทุนใหม่ที่เกิดขึ้น
- ติดตามนโยบายสิ่งแวดล้อม – นโยบายเหล่านี้เข้มงวดมากขึ้นตลอดเวลา ผู้ประกอบการควรติดตามอย่างสม่ำเสมอ
เริ่มต้นยังไงดี? บ้านปู เน็กซ์ มีคำตอบ
ข่าวดีคือ ธุรกิจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากศูนย์ เพราะมีพันธมิตรอย่างบ้านปู เน็กซ์ ผู้ให้บริการ Net Zero Solutions ชั้นนำในเอเชียแปซิฟิก ที่พร้อมช่วยวางแผนอย่างเป็นระบบตั้งแต่ให้คำปรึกษาไปจนถึงดำเนินการทุกขั้นตอน
บริการ Net Zero Consult จากบ้านปู เน็กซ์
- คำนวณ Carbon Footprint ทั้ง 3 Scope อย่างแม่นยำตามมาตรฐานสากล
- วางกลยุทธ์ Net Zero ที่ตอบโจทย์ทั้งการลดต้นทุนและการปฏิบัติตามกฎหมาย
- แนะนำการจัดทำ Sustainability Reports ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดใหม่
เตรียมพร้อมวันนี้ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
พ.ร.บ. Climate Change ไม่ใช่อุปสรรค แต่เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจที่เตรียมตัวดี การปรับตัวก่อนจะช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ลดต้นทุนระยะยาว และเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
อ้างอิง :
- [กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม]
- [ศูนย์วิจัยกสิกรไทย – ผลกระทบ พ.ร.บ. Climate Change]
- [PIER Research – Net Zero]
#บ้านปูเน็กซ์ #พิชิตNetZero #NetZeroเพื่อธุรกิจ #บ้านปูเน็กซ์ #NetZeroSolutions #ClimateChangeAct