District Cooling System ปฏิวัติวงการแอร์ ด้วยระบบทำความเย็นที่แคร์โลก

ข้อมูลล่าสุดของ World Meteorological Organization: WMO เผยว่า พ.ศ.2566 ถือเป็นปีที่โลกร้อนที่สุดใน ถือเป็นปีที่โลกร้อนที่สุดในประวัติการณ์ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นราว 1.4 °C และมีแนวโน้มที่จะร้อนขึ้นในอนาคต เช่นเดียวกับแนวโน้มการใช้เครื่องปรับอากาศ องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) คาดการณ์ว่าจำนวนการใช้เครื่องปรับอากาศอาจสูงถึง 4,500 ล้านเครื่องภายในปีพ.ศ.2593

เมื่อเราเย็น แต่โลกร้อน

เมื่ออากาศร้อน ความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศก็มากขึ้น เมื่อใช้มาก ยิ่งก่อให้เกิดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อากาศจึงร้อนขึ้น ทำให้เราต้องใช้เครื่องปรับอากาศต่อไป จนเกิดเป็นวงจรโลกร้อนจากระบบทำความเย็น

ทั้งนี้ สถิติการใช้พลังงานของ IEA เผยว่า ในหนึ่งอาคารมีการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศถึง 20% โดยในปีพ.ศ.2565 การใช้เครื่องปรับอากาศปล่อยคาร์บอนราว 1 พันล้านตัน ไม่นับรวมก๊าซเรือนกระจกที่มาจากสารทำความเย็นอย่าง HFCs (Hydrofluorocarbons) ซึ่งมีอานุภาพในการดูดซับรังสีความร้อน จึงจัดเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่ง และมีความรุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลายพันเท่า กลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โลกร้อนในปัจจุบัน

ธุรกิจเป็นตัวการสำคัญที่ใช้เครื่องปรับอากาศในปริมาณมาก ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น ธุรกิจควรมองหาโซลูชันสำหรับการทำความเย็นที่สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว

District Cooling System ระบบทำความเย็นที่ไม่ทำร้ายโลก

District Cooling System หรือระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลาง เป็นระบบจัดการพลังงาน (Energy Management System) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากรวมการผลิตความเย็นไว้ที่แหล่งเดียวทำให้ประหยัดพลังงานมากกว่า และใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับธุรกิจให้พร้อมบรรลุเป้าหมาย Net Zero

หลักการทำงานของระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลาง

District Cooling System มีวงจรการทำงานดังนี้

  1. โรงผลิตความเย็นส่วนกลางผลิตน้ำเย็นอุณภูมิราว 4 – 7 °C
  2. น้ำเย็นถูกส่งไปยังสถานีถ่ายโอนพลังงานในอาคารผ่านท่อที่ติดตั้งอยู่ใต้ดิน
  3. สถานีถ่ายโอนพลังงานนำพลังงานความเย็นส่งไปยังเครื่องปรับอากาศของอาคาร ทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น อยู่ที่ 12-14 °C
  4. น้ำอุ่นถูกส่งกลับไปยังโรงผลิตความเย็นส่วนกลาง เพื่อทำความเย็นอีกครั้ง

ระบบผลิตความเย็นที่ตอบโจทย์ธุรกิจ

District Cooling System เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีหลายอาคารในพื้นที่เดียวกัน และมีการใช้ไฟฟ้าเพื่อผลิตความเย็นอย่างต่อเนื่องตลอดวัน เช่น อาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โรงงาน โรงพยาบาล หรืออาคาร Mixed-Use ที่รวบรวมสำนักงาน ศูนย์การค้าและที่อยู่อาศัยไว้ในย่านเดียวกัน การเปลี่ยนมาใช้ District Cooling System จึงตอบโจทย์ธุรกิจได้ในหลาย ๆ ด้าน

  1. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ระบบ District Cooling System ลดการใช้สารทำความเย็นที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าระบบทำความเย็นแบบดั้งเดิม
  2. ผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ District Cooling System ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยรวมการผลิตความเย็นไว้ในที่เดียว ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. ประหยัดพื้นที่ภายในอาคาร การใช้ District Cooling System ไม่จำเป็นต้องติดตั้งหอผึ่งลมเย็น เหมือนเครื่องปรับอากาศแบบดั้งเดิมที่ติดตั้งภายในอาคาร จึงใช้ประโยชน์จากพื้นที่ภายในอาคารได้มากขึ้น
  4. ประหยัดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ เมื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าได้คุ้มค่า จึงช่วยประหยัดต้นทุนด้านพลังงาน และ District Cooling System ยังมีค่าติดตั้งและค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่ำกว่าเครื่องปรับอากาศแบบเดิม ส่งผลให้ธุรกิจประหยัดต้นทุนได้ในระยะยาว

สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรืออาคารเดี่ยวที่ต้องการใช้ระบบทำความเย็น Chiller จัดเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ทั้งความคุ้มค่าด้านต้นทุน และประสิทธิภาการทำความเย็นสูงสุด โดยสามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจ ที่สำคัญ บ้านปู เน็กซ์ เลือกใช้สารทำความเย็น Hydrofluoroolefin (HFOs) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงพาธุรกิจเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ได้อย่างยั่งยืน

บ้านปู เน็กซ์ ให้บริการโซลูชันพลังงานแบบครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจและจัดการพลังงานภายในอาคารอย่างเหมาะสม โดยบ้านปู เน็กซ์ อีโคเสิร์ฟ (บริษัทลูกของบ้านปู เน็กซ์) นำเสนอโซลูชันด้านการจัดการพลังงานครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่ตรวจสอบการใช้พลังงาน ศึกษาความเป็นไปได้ พร้อมจัดหาอุปกรณ์ ติดตั้ง รวมถึงปรับปรุงอุปกรณ์ของระบบผลิตความเย็นจากส่วนกลาง ซึ่งปัจจุบันให้บริการธุรกิจไทยมาแล้วกว่า 25 ราย เช่น อาคาร Mixed-Use ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล โรงงาน รวมกำลังการผลิตมากกว่า 22,600 ตันความเย็น*

*ข้อมูล ณ ไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2567